วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

การบัญชีการเงิน

ความหมายของการบัญชี

                การบัญชี เป็นศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในแต่ละกิจกรรม

                จากคำจำกัดความของคำว่า การบัญชี สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้
1.       ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวม คือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็นรายการค้าหรือไม่ (เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กิจการต้องนำมาบันทึกหรือไม่) ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี
2.       การจดบันทึกและการวัดมูลค่า เป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึกรายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า สมุดรายวัน (Journal) การบันทึกจะมีการวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้นๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วันที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกัน ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร)
3.       การใช้หน่วยเงินตรา การบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลง
4.       การจัดหมวดหมู่ เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า สมุดแยกประเภท(Ledger)
5.       การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงิน เมื่อมีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของกิจการโดยจัดทำ งบการเงิน (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
1)      งบกำไรขาดทุน
2)      งบดุล
3)      งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
4)      งบกระแสเงินสด
5)      นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน
 
การบัญชีและการทำบัญชี

                        งานของการทำบัญชี เป็นเรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีที่เกิดขึ้นในสมุดบัญชีจนกระทั่งจัดทำงบการเงิน ผู้ที่มีหน้าที่ในการบันทึกบัญชีเรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ส่วนการบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการบันทึกบัญชี การจัดทำรายงานการเงินและแปลความหมายของรายงานการเงิน นักบัญชี (Accountant) มีหน้าที่จัดวางระบบบัญชีของกิจการ ควบคุมและตรวจตรางานของผู้ทำบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มากว่าผู้ทำบัญชี

ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี

1. ทราบถึงความก้าวหน้าของกิจการ และประสบการณ์ในการดำเนินงานของผู้บริหาร
2.   ทราบถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ
3.  ให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการควบคุม และตัดสินใจ
4. ให้ฝ่ายบริหารทราบถึงข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต



ฟังก์ชั่น IF

ฟังก์ชัน IF เป็นฟังก์ชันทางด้านตรรกศาสตร์ ที่มีผู้นิยมใช้มากเพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
หลากหลายเนื่องจากบางครั้งในการคำนวณอาจต้องมีการตรวจสอบว่าตรงกับเงื่อนไขที่เราต้องการให้
คำนวณหรือไม่ 
  
ตัวอย่าง ต้องการหาผลการเรียนของนักเรียน ตามเงื่อนไขคะแนน 
  
 
 
1. คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการวางผลลัพธ์
จากนั้น พิมพ์ฟังก์ชัน     =IF(E3>=50,"ผ่าน","ไม่ผ่าน")
มีความหมายว่า 
ถ้าคะแนนรวมในเซลล ์E3 มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ให้ใส่ผลการเรียนเป็น "ผ่าน"
 
          ถ้าไม่ใช่ตามเงื่อนไขให้ใส่ผลการเรียนเป็น "ไม่ผ่าน" 
2. กดแป้น Enter จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ 
 
3. ทำการคัดลอกสูตรโดยการนำเม้าส์วางที่แฮนเดิล ดังภาพ 
 
ตัวชี้เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย   + 
จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้แล้วลากลงไปจนถึงเซลล์ที่ต้องการ 
  
 
 
เราสามารถใช้ฟังก์ชัน IF ทดสอบมากกว่า 1 เงื่อนไขได้ 
  
=IF(E3>=80,"4",IF(E3>=70,"3",IF(E3>=60,"2",IF(E3>=50,"1","0"))))
 
  
     ถ้าคะแนนในเซลล์ E3 มากกว่าหรือเท่ากับ 80 ให้ผลการเรียนเป็น 4 
     ถ้าคะแนนในเซลล์ E3 มากกว่าหรือเท่ากับ 70 ให้ผลการเรียนเป็น 3 
     ถ้าคะแนนในเซลล์ E3 มากกว่าหรือเท่ากับ 60 ให้ผลการเรียนเป็น 2 
     ถ้าคะแนนในเซลล์ E3 มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ให้ผลการเรียนเป็น 1
                                ถ้าไม่ใช่ตามเงื่อนไขที่วางไว้ให้ผลการเรียนเป็น 0



แบบทดสอบวิชา Excel